ลงทะเบียน | ลืมรหัสผ่าน

ชื่อ

รหัสผ่าน

อ่านทั้งหมด
เอกสารและสื่อเผยแพร่จากงานประชุมสัมมนาทางวิชาการ Innovating CBT in ASEAN..
  • หนุนงานวิจัย
  • การฝึกอบรม
  • จัดการศึกษา-ดูงาน
  • สนับสนุนกลไกการทำงานการตลาด CBT
  • ให้คำปรึกษา
  • งานวิจัย
  • การใช้ประโยชน์จากงานวิจัย
  • ข่าวสารและกิจกรรม
  • บทความ
  • เรื่องเล่าจากพื้นที่
  • พันธมิตร
  • สื่อเผยแพร่
  • เกี่ยวกับ CBT-IRDC
  • Innovating CBT in ASEAN
  • Tour Merng Tai
  • CBT-N-CC ศูนย์ประสานงาน..
  • Payap
  • CBT-IRDC
อ่านทั้งหมด


การใช้ประโยชน์จากงานวิจัย

ชื่อหัวข้อ : ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการแก่งสะพือแบบมีส่วนร่วมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

รายละเอียด :

  • ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการแก่งสะพือแบบมีส่วนร่วมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
 
  • การค้นหาปัญหาจากฐานรากสู่การจัดการแก่งสะพือที่ยั่งยืน
 
การได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาต่างๆของแก่งสะพือของคนในชุมชน เป็นจุดก่อเกิดโครงการการหาแนวทางจัดการการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนของแก่งสะพือโดยอาศัยการขับเคลื่อนของอาจารย์เรวัติ สิงห์เรือง หัวหน้าโครงการพร้อมทั้งคณะครูและชุมชน การสร้างเวทีในการพูดคุยปรึกษาหารือกันเป็นประจำทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของคนภายในชุมชน และกระบวนการศึกษาวิจัยของคณะทำงานได้ก่อเกิดการตื่นตัวและเกิดความสนใจจากหลายฝ่ายทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนที่มีพลังของการมีส่วนร่วมในการค้นหาแนวทางที่เหมาะสมของแก่งสะพือ ตลอดจนได้รับแนวร่วมจากเยาวชนนักเรียนทำกิจกรรมรณรงค์สร้างจิตสำนึกการทิ้งขยะป็นที่เป็นทางและการสืบสานอารยธรรมการเรียนรู้ของแก่งสะพือ พร้อมกันนี้ยังได้แนวร่วมจากทางโรงเรียนที่จะสร้างแก่งสะพือเป็นห้องเรียนชุมชน จากกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวทำให้เทศบาลใด้เล็งเห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือสนับสนุนงบประมาณการประชาสัมพันธ์และยังรอผลการศึกษางานวิจัยที่จะนำไปบรรจุในแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวของแก่งสะพือที่ยั่งยืน กระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวได้หล่อหลอมให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแก่งสะพือไม่ว่าจะเป็นแม่ค้า คนในชุมชน หน่วยราชการในพื้นที่และนักท่องเที่ยวได้ก่อเกิดการตระหนักและรู้รักษ์ที่จะอนุรักษ์เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนและเป็นแหล่งอารยธรรมของการเรียนรู้ของลูกหลานสืบไป 
 

 
  •  ปลัดเทศบาลอำเภอวิบูลมังสาหาร หนุนร่วมวิจัยพัฒนาแก่งสะพือ
 
จากผลการดำเนินงานระยะที่ 1 ของ โครงการ “ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการแก่งสะพือแบบมีส่วนร่วมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี” โดยมีอาจารย์เรวัติ สิงห์เรือง เป็นหัวหน้าโครงการ ร่วมทีมกับคณะครูโรงเรียนพิบูลมังสาหาร พบว่าได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนเป็นอย่างดีจาก ปลัดเทศบาล อ.วิบูลมังสาหาร คุณจรัลรัตน์ พงษ์จงมิตร ในการเข้าร่วมประชุมกับทีมวิจัยอย่างต่อเนื่อง และได้สนับสนุนงบประมาณการเพื่อแก้ปัญหาในแก่งสะพือแล้วด้วยกันหลายด้าน อาทิ 1) ปรับปรุงอาคารร้านค้าที่ชำรุด ทรุดโทรมให้มีความสวยงามและสามารถใช้ประโยชน์ได้ดียิ่งขึ้น 2) จัดทำเสื้อทีมให้กับกลุ่มร้านค้าแก่งสะพือ 3) หลังจากเวทีประชาคม มีข้อเสนอร่วมกันจากชาวบ้านและแม่ค้าว่าตึกของ ททท.ที่มาก่อสร้างไว้ 2 หลังนั้นบดบังทัศนียภาพของแก่งสะพือทำให้ไม่สวยงามเหมือนแต่ก่อน ปัจจุบัน ปลัดเทศบาลจึงได้ออกคำสั่งให้มีการทุบกำแพงของตึงด้านหน้าออกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทำให้มองเห็นความสวยงามของแก่งสะพือได้กว้างขวางมากขึ้น 4) เทศบาลได้จัดทำแผนปรับภูมิทัศน์ เป็นจำนวนเงิน 40 ล้านบาท ไว้ในแผนงบประมาณปี 2549 โดยมีแผนงานที่วางไว้เบื้องต้น คือ การปลูกดอกไม้รอบแก่งสะพือ การการจัดทำหาดทรายแก้ว และการจัดสวนสุขภาพให้คนได้มาพักผ่อนและออกกำลังกายได้ นอกจากนี้ ท่านปลัดจรัลรัตน์ ยังได้แสดงความคิดเห็นกับทีมวิจัยว่าจะรอข้อมูลจากผลการวิจัยในระยะที่ 2 เพื่อนำมาปรับให้เข้ากับแผนปรับภูมิทัศน์ที่จะเสนอต่อไป  
 

 
  • รวมกลุ่มแม่ค้าแก่งสะพือร่วมใจกันพัฒนาการท่องเที่ยว
 
การได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาต่างๆของแก่งสะพือของคนในชุมชน เป็นจุดก่อเกิดโครงการ “ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการแก่งสะพือแบบมีส่วนร่วมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี” โดยมีอาจารย์เรวัติ สิงห์เรือง เป็นหัวหน้าโครงการ ร่วมทีมกับคณะครูโรงเรียนเทศบาลพิบูลมังสาหาร จากผลการดำเนินงานระยะที่ 1 พบว่า จากการจัดเวทีประชาคมสอบถามสภาพปัญหาด้านการท่องเที่ยวแก่งสะพือ ร่วมกับกลุ่มแม่ค้าในแก่งสะพือ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ร่วมกันพบว่าสาเหตุที่ทำให้นักท่องเที่ยวลดลง คือ 1) ราคาอาหารไม่แน่นอน และมีราคาแพง 2) แม่ค้าแย่งกันขาย 3) ปัญหาขยะ 4) ร้านค้าไม่มีระบบการบริหารจัดการร่วมกัน ต่างคนต่างขาย ต่างอยู่ หลังจากรับรู้ข้อมูลจากการวิจัยด้วยกันแล้ว ทำให้ร้านค้าส่วนใหญ่เกิดการตื่นตัวและได้จัดเวทีพูดคุยกันเพื่อหาแนวทางปรับปรุงการค้าในแก่งสะพือ โดยปัจจุบันได้เกิดการรวมกลุ่มแม่ค้าในบริเวณแก่งสะพือขึ้น โดยมี คุณนภา ประดับศรี เป็นผู้ได้รับคัดเลือกให้เป็นประธานกลุ่มร้านค้าแก่งสะพือ ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกร้านค้าที่เข้าร่วมแล้วประมาณ 30 ร้านค้า และกลุ่มดังกล่าวได้มีการวางกฎ ระเบียบในการแก้ไขปัญหาร่วมกันดังนี้ 1) ทำบัตรคิวในการขายอาหาร 2) ควบคุมราคาอาหารและสินค้าให้มีมาตรฐานเดียวกัน 3) จัดให้ร้านค้าทุกร้านมีการจัดเก็บขยะในส่วนของตัวเอง 4) สนับสนุนสมาชิกให้พัฒนาความรู้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ใหม่ๆโดยเน้นการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น จากการทดลองปรับเปลี่ยนของกลุ่มแม่ค้ามาระยะหนึ่งพบว่าแก่งสะพือมีความงดงามและเป็นระเบียบมากขึ้น นักท่องเที่ยวหลายคนชื่นชมว่าสามารถบริหารจัดการได้ดี ทำให้น่ามาเที่ยว ซึ่งทางกลุ่มยังบอกอีกว่าจะปรับปรุงและพัฒนารูปแบบไปเรื่อยๆ ตลอดจนจะเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อดึงการมีส่วนร่วมของแม่ค้าให้ได้ทุกร้านค้าต่อไป 
 
  • โรงเรียนเทศบาลพิบูลมังสาหาร บูรณาการการศึกษาโดยใช้แหล่งท่องเที่ยวแก่งสะพือ
 
จากการศึกษาวิจัย โครงการ “ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการแก่งสะพือแบบมีส่วนร่วมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี” ในระยะที่ 1 โดยมีอาจารย์เรวัติ สิงห์เรือง เป็นหัวหน้าโครงการ ร่วมทีมกับคณะครูโรงเรียนเทศบาลพิบูลมังสาหาร พบว่าคณะครูได้นำกระบวนการเรียนรู้จากงานวิจัยไปวางแนวทางทดลองทำหลักสูตรบูรณาการการเรียนการสอน โดยใช้แก่งสะพือเป็นแหล่งเรียนรู้ โดยการบูรณาการครั้งนี้ คุณนิคม สายเสนา ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลวิบูลมังสาหาร เล่าว่า จะทดลองสอนกับเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – ปีที่ 3 เป็นเวลา 1 วัน โดยจะทดลองสอนในทุก 8 สาระวิชา ซึ่งมีแผนที่จะบูรณาการดังนี้
 
1. วิชาวิทยาศาสตร์ จะนำนักเรียนศึกษาสำรวจสภาพน้ำในแก่งสะพือ
2. วิชาคณิตศาตร์ จะให้นักเรียนจัดทำรายการอาหารและสำรวจรายได้ร่วมกับกลุ่มแม่ค้าในแก่งสะพือ
3. วิชาภาษาอังกฤษ จะให้นักเรียนฝึกเป็นไกด์คุยกับนักท่องเที่ยว
4. วิชาศิลปะ จะให้นักเรียนวาดรูปสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆในแก่งสะพือ
5. วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา จะให้นักเรียนสำรวจปริมาณขยะและเรียนรู้ถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
6. วิชาสังคม ศาสนา และวัฒนธรรม ให้นักเรียนสำรวจจำนวนแม่ค้าและนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในหนึ่งวันว่ามีจำนวนเท่าไร
7. วิชาศาสนา จะให้นักเรียนเข้าวัดซึ่งอยู่ติดกับแก่งสะพือเพื่อเข้าฟังธรรมะจากพระสงฆ์และฝึกสมาธิ
8. วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและข่าวสาร จะให้นักเรียนฝึกเขียนเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเกี่ยวกับแก่งสะพือ
 
หลังจากทดลองแล้วคณะครู ทีมวิจัยและนักเรียนจะนำมาประเมินผลร่วมกัน เพื่อนำมาวางแนวทางในการจัดทำหลักสูตรเพื่อท้องถิ่นสอนในโรงเรียนต่อไป ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น คุณนิคม สะท้อนว่าตั้งแต่คณะครูโรงเรียนได้ทำงานวิจัยกับ สกว. ทำให้โรงเรียนได้รับรางวัลป้ายทอง ในฐานะโรงเรียนสิ่งแวดล้อมดีเด่น ในอำเภอวิบูลมัง-สาหาร นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาบุคลากรครูให้มีความสามารถมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
 

 

 

ย้อนกลับ

อ่านทั้งหมด
Loading
  • รสนิยมดี : ท่องเที่ยว CBT ท่องเที่ยววิถีชุมชน..
  • หน้าแรก
  • CBT
  • CBT-I
  • ชุมชนท่องเที่ยว
  • งานบริการ
  • ห้องสมุดข้อมูล
  • โครงการพิเศษ
  • พันธมิตร
  • ติดต่อเรา

สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT-I)

สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน ห้อง 216 อาคารเพ็นเทคอสต์ มหาวิทยาลัยพายัพ เขตแม่คาว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000 โทรศัพท์ : 0 5385 1478 ต่อ 7261 โทรสาร : 0 5385 1757 E-mail : info@cbt-i.org

โทรศัพท์ : 0 5385 1478 ต่อ 7261 | โทรสาร : 0 5385 175 | E-mail : info@cbt-i.org | Copyright © 2013 - 2015 All Rights Reserved